Real Time Monitoring
ภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติ
ผลกระทบทางอ้อมของภัยอินเทอร์เน็ตนั้นทำให้ประเทศชาติขาดความเชื่อถือในด้านความมั่นคงของระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ดูจากตัวอย่างสถิติ เว็บไซต์ของประเทศไทยที่ถูกแฮกเกอร์โจมตีที่เว็บ www.zone-h.org จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์ของประเทศไทยถูกโจมตีมากกว่าหนึ่งพันเว็บไซต์ในปี 2006 ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาด้านความปลอดภัยข้อมูลของประเทศว่ายังต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐและผู้บริหารระดับสูงในองค์กรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยข้อมูลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ ในอนาคตจึงจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงโครงสร้างพื้นฐานระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ตลอดจนควรจัดให้มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบโดยตรง ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น KISA (Korea Information Security Agency) ในประเทศเกาหลีใต้ หรือ MCSA (Malaysia Cyber Security Agency ชื่อเดิม NISER) โดยหน้าที่หลักของหน่วยงาน ดังกล่าวคือการเฝ้าระวัง (Real Time Monitoring) โครงสร้างพื้นฐานหลักของระบบอินเทอร็เน็ตในประเทศตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยอินเทอร็เน็ตในระดับประเทศซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยไม่บอกล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังพายุอินเทอร์เน็ตมาหลายปีแล้ว เรียกว่าศูนย์ Internet Strom Center (http://isc.sans.org) ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับปัญหาภัยอินเทอร์เน็ต ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศต่อไปในอนาคต
Refer to http://www.acisonline.net/article_prinya_eweek_010150.htm
싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online
phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
Virus Computer Killer Chat
Tuesday, 2 February 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment